Thailand Web Stat Truehits.net
аёаёІаёўа№ЂаёаёЈаёа№Ђаёаёа№ЂаёЄаёаёўаёаёЎаёаёаёЄаёаё

แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - acare

หน้า: 1
1

หน้าที่และปุ่มต่างๆของเพาเวอร์แอมป์

    อีกครั้งสำหรับหน้าที่และปุ่มต่างของเพาเวอร์แอมป์ เพราะมีคำถามเข้ามามากมาย สำหรับปุ่มต่างๆที่หลายท่านยังสงสัย

    หน้าที่ของปุ่มต่างๆบนแอมป์ Class AB


    Gain,sensitivity
    เป็นปุ่มสำหรับปรับระดับความไวขาเข้าให้กับเพาเวอร์แอมป์ เพื่อให้มีระดับความดังตามต้องการ แต่การปรับปุ่มความไวขาเข้านี้ หากมากเกินไปจะทำให้ความสมดุลย์ระหว่างอิมพีแดนซ์ขาออกของปรีแอมป์หรือวิทยุกับอิมพีแดนซ์ขาเข้าของเพาเวอร์แอมป์ไม่เหมาะสมกัน ทำให้เกิดปัญหา เสียงซ่า เสียงรบกวนและขาดน้ำหนักเสียงและปลายเสียงที่ดีครับ

    High pass
    ปุ่มที่กำหนดหน้าที่กำหนดให้ความถี่สูงกว่าจุดตัดหรือความถี่ที่กำหนดผ่านออกไปสู่ลำโพงให้ทำงานต่อไป เช่นกำหนดความถี่ไว้ที่ 90Hz นั่นหมายถึงความถี่ที่สูง
    กว่า 90Hz จะผ่านไปสู่ลำโพง ส่วนความถี่ที่ต่ำกว่า 90Hz ก็จะถูกกรองทิ้งไป

    Low pass
    ปุ่มที่กำหนดให้ความถี่ต่ำกว่าจุดที่กำหนดผ่าน เช่น กำหนดความถี่ไว้ที่ 90Hz นั่นหมายถึงความถี่ที่ต่ำกว่า 90Hz จะถูกส่งไปให้ลำโพงทำงาน ส่วนความถี่ที่สูงกว่า 90Hz ก็จะถูกกรองทิ้ง

    Full , Flat
    เป็นปุ่มที่เลือกให้ความถี่ทุกความถี่ ผ่านออกไปสู่ลำโพงทั้งหมด โดยไม่มีการกรองความถี่ทิ้งไปแต่อย่างใด

    หน้าที่และปุ่มต่างๆของแอมป์ Class D

    Bass Boost
    เป็นปุ่มที่ทำหน้าที่เพิ่ม-ลดระดับความดังของความถี่ที่กำหนด เช่น แอมป์จะกำหนดความถี่ในการเพิ่ม-ลดมาไว้ให้ตายตัว เช่น 45Hz หรือสามารถเลือกความถี่ที่ต้องการ Boost ได้
    หน้าที่ของปุ่มต่างๆบนแอมป์คลาส D

    gain ปรับความไวขาเข้าของเพาเวอร์แอมป์ ให้ทำงานสอดคล้องหรือเหมาะสมกับระดับความแรงของสัญญาณ

    lpf เป็นปุ่มสำหรับเลือกความถี่ให้วงจรกรองความถี่แบบต่ำผ่าน โดยความถี่ที่เลือกจะกำหนด ให้ปล่อยความ
    ถี่เสียงที่ต่ำกว่ากำหนดให้ซับทำงานต่อไป หรือความถี่ที่สูงกว่าที่กำหนดจะถูกกรองทิ้งไป

    Subsonic ทำหน้าเสมือนวงจรกรองความถี่แบบ Hpf เป็นการกำหนดให้ความถี่ที่สูงกว่าที่กำหนด ผ่านให้ซับวูฟเฟอร์
    ทำงานหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ความถี่ที่ต่ำกว่าที่กำหนดจะถูกวงจรนี้กรองทิ้งไป
    ข้อสังเกต Lpf และ Sub Sonic จะมีหน้าที่และการทำงานที่ตรงข้ามกัน

    Bass Boost Fre. เป็นปุ่มสำหรับเลือกความถี่ที่ต้องการ ปรับเพิ่ม(Boost) เพื่อเป็นการชดเชยสภาพทางอคูสติกหรือแก้ไขปัญหา
    ทางเฟสที่อาจล้ำเกินไป

    Bass Boost เป็นปุ่มที่ควบคุมระดับความดังของความถี่ที่ต้องการเพิ่ม-ลด ทำงานสัมพันธ์กับ Bass Boost Fre.

2


ก่อนที่จะเริ่มทำการจูนเสียง สิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องแน่ใจซะก่อนว่า ลำโพงแต่ละตัวของเรามี "เฟส"ที่ถูกต้องทั้งหมดนะครับ ไม่อย่างนั้นจูนเท่าไหร่เสียงก็ไม่ดีและไม่ดัง

ผมขออนุญาตเริ่มก่อนแล้วกัน ในการปรับจูนเสียงคงต้องเริ่มกันที่การทำ Level Matching กันก่อน เพื่อทำการควบคุมระดับสัญญาณไม่ให้เกิดการ Clip หรือ Peak สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ครับ

การทำ Level Matching

ต้องทำความเข้าใจกับท่านที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการทำ Level Matching กันก่อนนะครับ ว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการปรับเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ในระบบเกิดความเพี้ยนหรือการ Clip ขึ้นมาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการปรับจูนเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่ดี และในการแนะนำของผมเป็นการทำที่อาจจะแตกต่างไปจากที่เคยทราบกันอยู่แล้วบ้างนะครับ เพราะเกิดจากประสบการณ์ในการทำงานผสมกับทฤษฏีทางไฟฟ้า

ทำการขั้นตอนดังนี้
- เปิดวอร์มอุปกรณ์ทิ้งไว้สักประมาณ 15 นาที เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม
- ทำการเช็ค เฟส ของลำโพงทุกตัว
- ปรับอุปกรณ์ทั้งหมดให้อยู่ตำแหน่ง Flat
- ปรับตั้งจุดตัดความถี่ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการทำงานของลำโพง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยให้ทำการกำหนดความถี่ดังนี้ ซับวูฟเฟอร์ กำหนดจุดตัดความถี่ไว้ที่ 90hz มิดเรจน์/วูฟเฟอร์ กำหนดไว้ที่ 90-4khz และสุดท้ายทวีตเตอร์ กำหนดไว้ที่ 4khz ตัวอย่างความถี่ที่แนะใช้ได้กับลำโพงทุกยี่ห้อครับ อยู่ในระยะที่ปลอดภัย แต่ถ้าลำโพงยี่ห้อใดไม่สามารถทำได้ ขายทิ้งไปเลยครับ ถือว่ามีคุณภาพที่ต่ำมาก และถ้าเป็นสไตล์ SQ การปรับตั้งความถี่จะโหดกว่านี้มากครับ เช่น ซับวูฟเฟอร์ กำหนดความถี่ที่ 50hz มิดเรนจ์ กำหนดความถี่ที่ 50-2.5khz และทวีตเตอร์ กำหนดความถี่ที่ 2.5khz ขึ้น ส่วนท่านใดที่เห็นว่าการกำหนดความถี่ที่แนะนำไม่เหมาะสมก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความชอบของแต่ละท่าน
- ทำการปิด gain ของอุปกรณ์แต่ละตัวให้หมด
- เปิดแหล่งกำเนิดสัญญาณ วิทยุ ไว้ทีประมาณ 75% ใส่แผ่น CD ที่เป็นเพลงที่มีไดนามิคเรนจ์สูง
เพื่อที่จะทำการกำหนดความแรงสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ Clip ได้ชัดเจนกว่า
- ค่อยๆทำการเปิด gain ของอุปกรณ์ตัวถัดไปเช่น ปรีแอมป์,ครอสโอเวอร์,Line Driver,แอมป์ ถ้า
อุปกรณ์ตัวใดไม่มีก็ให้ข้ามไปที่อุปกรณ์ตัวอื่นๆต่อไป ในขณะที่ทำการปรับ gain ให้สังเกตเสียงที่ได้ยินว่า เสียงที่ได้ยินมีการแตกพร่าหรือมีการ Clip เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าได้ยินเสียงแตกหรือClip เกิดขึ้นให้การลดระดับของสัญญาณหรือgain ลง
- ในการปรับgain อุปกรณ์ตัวสุดท้ายอาจ ไม่ต้องทำการเปิด gain เลยก็ได้หากสัญญาณมีความแรงพอหรือเพาเวอร์แอมป์มีความแรงพอ ที่จะทำให้ลำโพง Clip และจะเป็นสิ่งที่ดีมากต่อการตอบสนองความถี่ที่สมบูรณ์หากไม่ได้ทำการเปิด gain หรือเปิดก็แต่น้อย เพราะมีผลต่อความ Matching Impedence ยกเว้นในกรณีที่ความแรงสัญญาณไม่พอ จึงค่อยเปิด gain เพาเวอร์แอมป์
- แนะนำให้เริ่มทำการปรับที่ ลำโพงเสียงกลางก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากเสียงกลางหรือเพาเวอร์แอมป์ที่ขับเสียงกลางเป็นช่วงที่มีความถี่ที่กว้างที่สุด จากนั้นก็เป็นลำโพงเสียงแหลมและซับวูฟเฟอร์

3
ฝากเนื้อ ฝากตัวด้วยครับ

หน้า: 1